ไขข้อสงสัย...รากฟันเทียม คืออะไร?

 

        รากฟันเทียมคือสกรูไทเทเนียมที่ได้รับการฝังในกระดูกขากรรไกรเพื่อใช้ทดแทนฟันที่สูญเสียไป นั้นหมายถึงผู้ป่วยจะได้รับการถอนฟันธรรมชาติทั้งตัวซี่ฟัน และรากฟันออกไปแล้ว ซึ่งจะมีความแตกต่างกันการรักษารากฟันในฟันธรรมชาติ เพราะการรักษารากฟันนั้นหมายถึงเรายังสามารถเก็บรากฟันของฟันธรรมชาติซี่นั้น ๆ ไว้ได้ยังไม่ถึงกับต้องถอนฟันไป ผิวรากฟันเทียมจะมีไทเทเนียม และ/หรือเซรามิคเป็นส่วนประกอบหลักที่มีความสามารถในการเชื่อมติดกับกระดูกขากรรกไกรของผู้ป่วยได้

         โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 3 เดือนภายหลังจากรากฟันเทียมได้รับการฝังเรียบร้อยแล้ว จึงสามารถบูรณะชิ้นงานฟันปลอมต่อไปได้ ระยะเวลาการคอยอาจจะนานขึ้นหากมีความจำเป็นที่ต้องปลูกกระดูกร่วมด้วยในกรณีที่กระดูกขากรรไกรมีความบางแคบ หรือเตี้ยเกินกว่าจะฝังรากฟันเทียมได้ในแต่ละตำแหน่ง ในกรณีที่ผู้ป่วยมีผนังโพรงอากาศบริเวณใต้โหนกแก้มย้อยต่ำอาจมีความจำเป็นต้องยกผนังดังกล่าวขึ้น ก่อน หรือ ร่วมกับการฝังรากฟันเทียม จะเห็นได้ว่าการรวมเอารากฟันเทียมเข้าไปในแผนการรักษาบ้างครั้งอาจทำให้ยืดระยะเวลาการรักษาออกไปทำให้ยาวนานกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับใส่ฟันปลอมแบบถอดได้แบบธรรมดา หรือสะพานฟันบนฟันธรรมชาติ

 

       

         การจะบูรณะรากฟันเทียมสำหรับใส่ฟันทดแทนซี่เดี่ยวนั้น จะมีองค์ประกอบหลักๆ อยู่ 3 ส่วนด้วยกัน อันได้แก่ 1. รากฟันเทียม 2. เดือยรากฟันเทียม 3.ครอบฟันบนรากฟันเทียม 1 ซี่

        รากฟันเทียมร่วมกับการใส่ฟันทดแทนทั้งแบบถอดได้ และแบบติดแน่น เพื่อช่วยในการปิดช่องว่างระหว่างซี่ฟัน หรือเพิ่มแรงยึดติดในงานฟันปลอมแบบถอดได้ทั้งแบบบางส่วน และทั้งช่องปาก ข้อบ่งชี้ในการรักษาสามารถทำได้ในกรณีต่าง ๆ ดังนี้

        ทั้งนี้ในปัจจุบันมีเทคโนโลยี และอุปกรณ์ในการรักษาที่ความทันสมัยมากขึ้นในการรักษา ทันตแพทย์อาจพิจารณาถ่ายภาพรังสี 3 มิติ ร่วมกับการกำหนดตำแหน่งรากฟันเทียมในระบบคอมพิวเตอร์ และพิมพ์แบบแนวการปักรากฟันเทียมมาใช่ร่วมในระหว่างขั้นตอนการฝังรากฟันเทียม ก็จะเป็นเครื่องมือตัวหนึ่งที่สามารถช่วยในการวางแผนการรักษาให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น 

        ข้อดีของการใส่ฟันทดแทนเฉพาะซี่ ผู้ป่วยสามารถใช้งานครอบฟันบนรากฟันเทียมได้เสมือนฟันธรรมชาติของผู้ป่วยเอง ตัวรากฟันเทียมและส่วนประกอบต่าง ๆ ไม่สามารถเกิดฟันผุได้ สามารถทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟันได้แต่ละซี่ตามปกติเหมือนฟันธรรมชาติ ในขณะที่สะพานฟันจะไม่สามารถใช้ไหมขัดฟันชนิดธรรมดาระหว่างสะพานฟันได้

 

        การดูแลรักษาความสะอาด ผู้ป่วยสามารถแปรงฟันตามปกติ วันละ 2 ครั้ง การใช้ไหมขัดฟันปกติอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ผู้ป่วยอาจพิจารณาใช้เครื่องฉีดน้ำทำความสะอาดซอกฟัน/ รากฟันเทียมร่วมด้วย เพื่อใช้ในการฉีดเอาคราบจุลินทรีย์ หรือเศษอาหารออกในตำแหน่งที่ต้องการ

 

เรียบเรียงบทความโดย:   

อ.ทพ.พีรพัฒน์ กวีวงศ์ประเสริฐ     
สาราณียกร และกรรมการสมาคมทันตกรรมประดิษฐ์ไทย     

ภาพประกอบบทความ โดย ทพญ.พิชญา สุวรรณวลัยกร และ ทพญ.ภัณฑิรา สุวรรณวลัยกร 

11 มีนาคม 2564

ผู้ชม 787 ครั้ง

Engine by shopup.com