เรียบเรียงบทความโดย ผศ.ทพญ. สิตา ถาวรนันท์
ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์ วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
องค์การสหประชาชาติกำหนดให้ผู้สูงอายุ คือผู้ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป1 ซึ่งใน ประเทศไทยมีผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 15 จัดเป็น ลำดับที่ 14 ของโลก จากการสำรวจประชากรผู้สูง อายุของประเทศไทย ใน 4 คร้ังท่ีผ่านมา พบว่า มีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2537 มี จำนวนผู้สูงอายุ ร้อยละ 6.8 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อย ละ 9.4 ร้อยละ 10.7 ร้อยละ 12.2 ในปี 2545, 2550, 2554 ตามลำดับ2
ในปี 2564 ประมาณการณ์ว่า ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 20 ของประชากร ทั้งหมด3 จากรายงานของกรมกิจการผู้สูงอายุระบุว่าประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Complete Aged Society) ในปี พ.ศ. 2564 (20%) และเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) ใน พ.ศ. 2578 ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นร้อยละ 28 ของจำนวน ประชากรทั้งหมดของประเทศ
สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งสุขภาพช่อง ปากที่ไม่ดีสามารถส่งผลให้เกิดความเจ็บป่วยทางร่างกายหรือทำให้คุณภาพชีวิตลดลงได้4 จากการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุท่ีสูญเสียฟันแล้วไม่ใส่ฟันปลอม มีอัตราการ หกล้มมากกว่ากลุ่มที่ใส่ฟันปลอม เนื่องจากการมีฟันใช้ในการบดเคี้ยวมีผลต่อ การทรงตัวของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ5,6 WHO พบว่า ภาวะการสูญเสียฟันในผู้สูงอายุของประชากรโลกอยู่ที่ ประมาณ 1.3 - 78%1 ประเทศไทยเราอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3
นอกจากนี้พบว่า 87% ของผู้สวมใส่ฟันปลอมพบการระคายเคืองจากการที่มีเศษอาหารติดใต้ ฐานฟันปลอม 55% ของผู้สวมใส่ฟันปลอมพบความรู้สึกไม่สบายจากการเคลื่อนขยับของฟันปลอม และทำให้ทาน อาหารบางชนิดได้ยากลำบาก เป็นอีกสาเหตุของการเบื่ออาหาร และน้ำหนักลดในผู้สูง อายุได้ นอกจากนี้ สภาวะสันเหงือกเล็กและแบน การรับประทานยาบางชนิด เช่นยาแก้แพ้ ยานอนหลับ ยาคลายเครียด ยาขับปัสสาวะ และการลดน้ำหนัก ยังส่งผลต่อการลดลงของอัตราการไหลของน้ำลาย ซึ่งเป็นตัวกลางที่สำคัญในการเกิดความกระชับระหว่างสันเหงือกกับฟันปลอมลดลงได้ ผู้สูงอายุอาจใช้ ครีมติดฟันปลอม ช่วยยึดฟันปลอมกับ สันเหงือกให้แน่นขึ้น หรืออาจเลือกใช้วิธี ฝังรากฟันเทียมเพื่อเป็นอุปกรณ์เสริมใน การยึดฟันปลอมได้
ครีมติดฟันปลอม จากการทดสอบทางแพทย์พบว่าสามารถเพิ่ม แรงยึดเกาะของฟันปลอมกับสันเหงือก ช่วยให้ฟันปลอมไม่เคลื่อนขยับหรือหลุด
ง่าย ช่วยเพิ่มแรงกัดของการบดเคี้ยว จึง ลดปัญหาเศษอาหารติดใต้ฐานฟันปลอมเพิ่มความรู้สึกสบาย ความมั่นใจและพึงพอใจในการใส่ฟันปลอมมากขึ้น7,8 อีกปัญหาหนึ่งที่พบในผู้สูงอายุคือ การทำความสะอาดฟันปลอม ผู้สูงอายุมีปัญหาการใช้มือ มากขึ้น เช่นมือสั่น ปวดข้อ การหยิบจับของไม่ถนัด จึงเป็นอุปสรรคที่สำคัญ ในการทำความสะอาดฟันปลอม ส่งผลต่อสุขอนามัยของช่องปากและ ร่างกาย
วิธีการทำความสะอาดฟันปลอมที่แนะนำให้ใช้มี 2 วิธีหลักคือ การแช่ และ การแปรง
กว่า 80% ของผู้ใส่ฟันปลอม ไม่ได้ทำความสะอาดฟันปลอมอย่างถูกต้องหรือไม่ได้ทำความ สะอาดฟันปลอมด้วยผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ พื้นผิวฟันปลอมมีรูขนาดเล็ก ซึ่งง่ายต่อการ ขีดข่วน และเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียและเชื้อราได้ การใช้แปรงสีฟันที่แปรงฟันปกติจะทำให้พื้น ผิวของฟันปลอมมีรอยขีดข่วนได้มากขึ้น และยิ่งทำให้เกิดการสะสมของแผ่นคราบจุลินทรีย์ได้ง่ายยิ่ง ขึ้น สำหรับวิธีการแช่นั้น มีผลิตภัณฑ์เฉพาะที่ใช้ในการแช่หรือที่นิยมเรียก กันว่า “เม็ดฟู่ทำความสะอาดฟันปลอม”
เม็ดฟู่ทำความสะอาดฟันปลอม ประกอบด้วย สารต่อต้านเชื้อ แบคทีเรีย/เชื้อรา และสารที่ทำให้เกิดฟองฟู่ ซึ่งมีคุณสมบัติในการทำความ สะอาดและขจัดคราบ เป็นวิธีทำความสะอาดฟันปลอมโดยไม่ทำให้ฟันปลอมสึกหรือเป็นรอย ขีดข่วนจึงลดการสะสมของแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของโรคในช่องปากและ กลิ่นปากได้ สามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคในช่องปากและกลิ่นปากได้ถึง 99% ช่วยทำความสะอาดและขจัดคราบชา กาแฟ บุหรี่9,10
การมีฟองฟู่ช่วยทำความสะอาดในจุดที่แปรงเข้าไม่ถึง ได้อย่างรวดเร็วใน 3-5 นาที วิธึใช้เม็ดฟู่ทำความสะอาดฟันปลอม
1.แช่ฟันปลอมลงในภาชนะที่มีน้ำท่วมทุกส่วนของฟันปลอม
2.ใส่เม็ดฟู่ 1 เม็ดลงในน้ำจะเกิดฟองฟู่ ทิ้งไว้อย่างน้อย 3-5 นาที หรือสามารถแช่ทิ้งไว้ทั้งคืน
3. หลังแช่ อาจจะใช้แปรงสำหรับฟันปลอมทำความสะอาดเบาๆ ตรงบริเวณฟันปลอม และล้างด้วยน้ำ สะอาดก่อนนำไปใส่
References:
1.WHO World health statistics 2015
2. Ministry of Information and CommunicationTechnology, National Statistical Office 2014
3. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย www.thaitgri.org 2016
4. Ministry of Public Health, Bureau of International Health Policy. 2013
5. Miegel & Wachtel Int J Older People Nurs 2009;4(2):97-113.
6. Yoshida et al. Int J Prosthodon 2009;22(2):136-139.
7. Munoz et al. Journal of Prosthodontics 2011; 1–7.
8. Research Report on Bite Force (PCLBF 2009-08): 21 Dec 2009.
9. Data on file, GSK. Memo: P Fernandez, Abrasivity Support Letter May 2007 and Literature Review, August 2013.,
10. Charman et al. Lett Appl Microbiol 2009; 48; 472–477.
บทความนี้ได้รับการสนับสนุนโดย บริษัทแกล็กโซสมิทไคล์น คอนซูมเมอร์เฮลธ์แคร์ (ประเทศไทย) จำกัด
ดูรายละเอียดผลิตภัณฑ์ดูแลฟันเทียมเพิ่มเติมได้ที่
https://www.mydenturecare.com/th-th/
11 มีนาคม 2564
ผู้ชม 2609 ครั้ง